มาราปัตตานีหวังผลอะไรจากการขึ้นเวทีสามกีบ

พร้อมเรียกร้อง Self Determination

        เพราะ...ความรู้เท่าทันของคนในชาตินี่แหละที่จะพาชาติรอด ก็ ขอได้โปรดเผื่อแผ่ไปยังเพื่อนๆให้รู้ด้วยเช่นกัน อย่าสักแค่อ่านอยู่คนเดียว รู้คนเดียว มิฉะนั้นจะไร้ประโยชน์ที่จะนำเสนอ


        แชร์ไปเถอะเพื่อท่านจะได้มีเพื่อนร่วมต่อสู้ ท่านจะไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป ถ้าไม่ส่งต่อ ท่านก็สู้ไปคนเดียวก็แล้วกันนะ


        • โปรดสังเกตุว่าทำไมนักศึกษาจาก ๓ จชต.จึงยกเอาคำว่า Self Determination มาเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยินยอมให้ใช้สิทธิข้อนี้
        • คำว่า Self Determination หมายความว่า “หลักการกำหนดใจตนเอง” ถ้าหาก Rights of Self Determination หมายถึงผู้เรียกร้องขอสิทธิในการกำหนดใจตนเอง และ มีสิทธิที่จะดำเนินวิถีทางศีลธรรมหรือศาสนา และกฎหมายที่ออกกฎหมายตนเองได้

        ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่นักศึกษาจาก ๓ จชต.รู้กลไกและกฎบัติสหประชาชาตินี้ได้อย่างไร? เพราะนี่คือเป็นเงื่อนไขทางด้านความมั่นคงที่มีผลต่อเรื่องได้ หรือ เสียหายต่อความมั่นคงของประเทศชาติ

 

ขบวนการแบ่งแยกดินแดนร่วมม๊อบวันที่ 19 ต.ค. 63 ได้เชิญชวนนักเรียนนักศึกษา และประชาชนยะลา ร่วมม๊อบ ๓ นิ้วขับไล่รัฐบาล

 

        ดังนั้น...

        ขอนำความรู้เรื่องนี้มาให้พี่น้องชาวไทยรู้ทั่วกันเพราะการรู้เท่าทันคือทางรอดของแผ่นดิน


        • Yearbook (รายงานประจำปี) ค.ศ.2013 ของต่างประเทศ บอกว่าสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าข่ายเป็น Armed Conflict (ความขัดแย้งถึงกับสู้รบด้วยอาวุธ)


        • รัฐบาลไทยบอกสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นปัญหาภายในไม่เข้าข่าย Armed Conflict (ความขัดแย้งถึงกับสู้รบด้วยอาวุธ)


        • ที่ผ่านมากาชาดสากลก็พยายามเข้ามาขอตั้งสำนักงานถาวรในพื้นที่ โดยอ้างว่าเป็น Armed Conflict แต่เราบอกว่าไม่ใช่ จึงเข้ามาตั้งสำนักงานถาวรไม่ได้ เข้ามาได้แค่เป็นครั้งคราว

        • ถ้ายอมให้กาชาดสากลเข้ามาตั้งสำนักงานถาวร ใครจะรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ? (ในความเป็นจริง ขณะนี้เข้ามาตั้งแล้ว แบบขอชั่วคราวแต่ไม่ยอมกลับ)

        • แต่ถ้าหากขับเคลื่อนการบริหาร ๓ จชต.เข้าสู่การกำหนดนโยบายของตนเอง (Self Determination) ใครจะรับรองว่าไม่มีความขัดแย้งขึ้นอีก? ในที่สุดรัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาด้วยการปราบปราม เช่นทุกวันนี้

        • อำนาจที่เติมเต็มให้กับการกำหนดนโยบายของตนเอง ปัตตานีย่อมมีสิทธิที่จะอ้างการปราบปรามความไม่สงบของรัฐบาลนั้นเป็น Armed Conflict (การต่อสู้ทางอาวุธเช่นทุกวันนี้) และก็เป็นสิทธิที่จะโหวตให้ ยูเอ็น ส่งกำลังเข้ามาได้เช่นกัน

        • ในการพูดคุยกับ BRN. จะได้ยินคำกล่าวหาที่ BRN. ยัดเยียดให้ไทยเป็น “สยามนักล่าอาณานิคม”

        • การที่เรียกไทยว่า “สยามนักล่าอาณานิคม” เป็น “ภาษาประดิษฐ์” ที่ประดิษฐ์มาเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการอ้างต่อ UN. ในการกำหนดเจตน์จำนงของตัวเอง และก้าวไปสู่แยกตัวเองไปเป็นประเทศอิสระต่อไป
        หมายเหตุ “เพราะผู้เข้าเจรจาฝ่ายรัฐบาลไทยมิได้มีการคัดค้านในการใช้คำนี้แต่อย่างใด !” (เท่ากับเป็นการยอมรับโดยอัตโนมัติ)

 

        @@ กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ [Armed Conflict]

        ส่วนที่ 1 การให้คำนิยามทางกฎหมายของการขัดกันทางอาวุธ และ ปัญหาในการจำแนกประเภทของการขัดแย้งกันในรูปแบบใหม่

        • การสู้รบตามมาตรา 1 แห่งพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 1 แม้เกิดขึ้นภายในประเทศ

        • การรับเอาพิธีสารเพิ่มเติม 1977 ฉบับที่ 1 ข้อนี้ ได้ขยายขอบเขตและประเภทของความขัดแย้ง ให้ถือว่าเป็นลักษณะหนึ่งของการขัดกันทางอาวุธที่มีลักษณะระหว่างประเทศ

        • ซึ่งหากเป็นการสู้รบที่ถือว่าเป็นการการขัดกันทางอาวุธที่มีลักษณะระหว่างประเทศนั้น แม้ว่าการสู้รบดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในอาณาเขตของดินแดนในประเทศเดียวกันก็ตาม

        พิธีสารเพิ่มเติม 1977 ฉบับที่ 1 มาตรา 1 (4) บัญญัติว่า

        “สถานการณ์ที่อ้างถึงในวรรคก่อนนั้นรวมถึงกรณีพิพาททางอาวุธ (Arm Conflict = ผู้เรียบเรียง) ซึ่งประชาชนต่อสู้กับการปกครองแบบอาณานิคม และการยึดครองของต่างชาติ และระบอบการเหยียดผิว เพื่อการใช้สิทธิการกำหนดใจของตนเองทั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาว่าด้วยหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันท์มิตร และ ความร่วมมือระหว่างรัฐต่างๆตามกฎบัตรสหประชาชาติ”

        ดังนั้น การสู้รบที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามความหมายข้างต้น ถือว่าเป็นการขัดกันทางอาวุธที่มีลักษณะระหว่างประเทศโดยการสู้รบดังกล่าวนั้น จะต้องมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
        1) เพื่อปลดปล่อยตัวเองจากการเป็นอาณานิคม (Colonial domination)
        2) เพื่อต่อต้านการยึดครองหรือการปกครองจากชาวต่างชาติ (Alien Occupation)
        3) เพื่อกำหนดเจตน์จำนงของตัวเอง (Self-determine)
        4) ต่อสู้เพื่อเชื้อชาติ เช่นการต่อสู้ต่อการเหยียดผิว (against racist regimes)


         หากเป็นการสู้รบที่มีวัตถุประสงค์ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศเดียวกันก็ตาม ตามพิธีสารเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ถือว่าเป็นการสู้รบระหว่างประเทศตามความหมายของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นการขัดกันทางอาวุธมีลักษณะระหว่างประเทศด้วย


        ดังนั้น
        ๑. ข้อหา “สยามนักล่าอาณานิคม” ที่ไทยถูกยัดเยียดให้โดยไม่มีการปฏิเสธใดๆ
        ๒. การขอตัดสินใจในอนาคตของตนเอง (Self Determination) โดยภาพที่บริสุทธิ์ของนักศึกษาเป็นผู้เรียกร้องเมื่อได้แล้วจะสงบอยู่ระยะหนึ่ง
        ๓. ความขัดแย้ง หรือ การสู้รบทางอาวุธ (Arm Conflict) ที่รอวันอุบัติขึ้น หลังจากได้ Self Determination เป็นเรื่องไม่ยากที่จะทำให้อุบัติ

        เมื่อถึงพร้อมใน ๓ ข้อ เป็นที่ประจักษ์ นั่นคือการแยกตัวออกจากไทย โดยมีสหประชาชาติเข้ามาเป็นคนกลางจัดการให้ โดยอาศัยความไร้เดียงสาของเด็กนักศึกษาเป็นตัวแสดงแทน


        ตีความหมายเองนะครับ ไม่ชี้ตรงๆ เพราะทุกๆคนมีสมอง คิดเป็นกันทั้งนั้น


        เตือนมานานและหลายครั้งแล้ว ฉบับนี้คงเป็นการเตือนครั้งสุดท้าย...

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้ : website counter